วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

christmas2012


          วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2554 โรงเรียนบ้านโชคนาสามโดย หมวดภาษาต่างประเทศและคณะครูโรงเรียนบ้านโชคนาสามได้ดำเนินการจัดกิจกรรมวันคริสมาสต์  วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรมต่างชาติ  และเป็นกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้  มีการประกวดวาดภาพ  ทำการ์ดอวยพร ตามระดับชั้นมีการมอบรางวัลและเกียรติบัติบนเวทีสำหรับผู้ที่ชนะตามลำดับ
         โดยมีนายสุรชัย  สมปางเป็นประทานในพิธีเปิด  บนเวทีมีการแสดงของเด็กทุกระดับชั้น อนุบาล  ประถม  และมัธยมตอนต้น มีละครสโนไวท์กับคนแคระทั้ง 7  การเต้นประกอบเพลงจิงเกอร์เบล  การร้องเพลงประสานเสียง  มีการแจกขนม รางวัลโดยแซต้าตำรา  ปาลสารด้วย  นักเรียนมีความสุขสนุกสนาน  ได้รับรางวัลกับทั่วหน้า  ปีหน้าอย่าลืมจัดอีกนะครับ  หนูอยากเต้นบ้าง

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม



          โรงเรียนบ้านโชคนาสามร่วมกับเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 23 ได้จัดกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมและเดินทางไกลที่ค่ายสุนิตา อำเภอหนองบุญมาก  จังหวัดนครราชสีมา  เมื่อวันที่ 19-21  ธันวาคม  2554 โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมในการอยู่ค่ายดังนี้ โรงเรียนบ้านโชคนาสาม  โรงเรียนบ้านมะเมียง  โรงเรียนบ้านเจ้าคุณ  โรงเรียนบ้านถนนหัก  โรงเรียนบ้านนาครอง  โรงเรียนมหาราช ๔ และโรงเรียนบ้านจีกแดก
          ได้มีกิจกรรมมากมาย การเดินทางไกล การประกอบอาหาร การทดสอบกำลังใจ  เงื่อนเชือก  บุกเบิก  สันทนาการ และการเล่นรอบกองไฟ ทำให้นักเรียนได้รับความรู้กันอย่างทั่วหน้า

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เกี่ยวข้าว54

         
          โรงเรียนบ้านโชคนาสามจัดการเรียนรู้เรื่องการทำนาข้าว  โดยการหว่านวันนี้วันที่  22  พฤศจิกายน  54  โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้กำหนดกิจกรรมการเกี่ยวข้าวขึ้น  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักเรียนทุกคนเป็นอย่างดี  เริ่มเกี่ยวตั้งแต่ 09.00 น.แล้วเสร็จก็ 15.00 น.  ในช่วงพักกลางวันมีอาหารเลี้ยงนักเรียนทุกคน  พร้อมกับ  ของหวาน จากคุณครู รัตนา  คุณครูภาวิณี  คุณครูศิริรัตน์  คุณครูน้ำฝน  เด็กได้รับกันทุกคน  ขอบอกอร่อยมาก
           จากการสอบถามครูบุญมี  บุญประสิทธิ์  ทราบว่าจะมีการนวดข้าวในวัน  จันทร์ที่ 28  พฤศจิกายน  54 ทางโรงเรียนก็ขอความร่วมมือนักเรียนทุกคนอีกครั้ง

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รับการประเมินจากคณะกรรมการ ประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน

       
          โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้  ขอรับการประเมินสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก  เพื่อขอรับรางวัลพระราทาน  คระกรรมการได้ดำเนินการประเมิรเมื่อวันที่  16  พฤศจิกายน  54  ที่ผ่านมา  ทางโรงเรียนต้องขอขอบพระคุณ  ผู้ปกครอง  ชุมชน หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนคุณครูนักเรียนที่ช่วยเหลือกันจนลุล่วงไปด้วยดี  ที่จะลืมมิได้ก็คือพระคุณเจ้าจาดวัดราษฏร์นุกูล  ที่พระคุณเจ้าได้เมตตาโรงเรียนบ้านโชคนาสาม  ทำให้  บริเวณงานดูอลังการ  สวยงามเป็นอย่างมาก
          ส่วนบริบทของโรงเรียนก็ได้รับการสนับสนุนแรงงานจากชุมชนในเขตบริการ ทำให้พื้นที่สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยดูงามตา  ทุกๆท่านที่ไม่ได้กล่าวถึง  ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คาราวานเสริมสร้างประสบการณ์ ปฐมวัยเครือข่ายที่23


          เมื่อวันที่  7  ตุลาคม  2554  โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้จัดกิจกรรมคาราวานเสริมสร้างประสบการณ์ เด็กปฐมวัยเครือข่ายที่ 23  ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนบ้านโชคนาสาม บ้านมะเมียง  บ้านเจ้าคุณ บ้านถนนหัก มหาราช ๔  บ้านจีกแดก  ตชด.2  นาครอง  ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณืเรียนรู้โดยตรง โดยมีผู้ปกครองเข้าร่วมคาราวานเสริมสร้างประสบการณ์นี้ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย 8 ฐาน ได้แก่ ฐานทอร์นาโด  หมุดลอยน้ำ  ลิฟท์เทียน  สนุกกับฟองสบู่  มหัศจรรย์ฉันทำได้  สนุกกับสีสัน  ขีดก็สอยปะก็สวยและร้องเล่นต้นสวย ได้มีนักเรียนรู่นพี่มัธยมปีที่  3  ได้มาเป็นวิทยากรร่วม
         กิจกรรมในงานสนุกสนานทั้งผู้เข้ารับการอบรมทั้งนักเรียนผุ้ปกครอง  ครูประจำฐาน  จัดว่าเป็นการเรียนรู้ที่น่าสนับสนุน  อย่างนี้ต้องจัดอีกนะครับ

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดกีฬาเครือข่ายที่ 23

   
          วันที่ 19 กันยายน  2554 เครือข่ายที่  23 โชคนาสาม  เป็นพิธีเปิดกีฬา  โดยมี สส.ชูศักดิ์  แอกทอง ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดหลังจาดชกเปิดก็เดินทักทาย พี่น้องชาวบ้านโชคนาสาม

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554



          วันที่ 15 กันยายน  2554  ในช่วงการแข่งขันกีฬาเครือข่ายที่  23  ซึ่งเริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่วันที่  12  กันยายน  54  -21  กันยายน  54 วันที่  15  ก.ย. 54  มีการแข่งขัน แอร์โรบิกตามระดับชั้นดังนี้ ระดับอนุบาล ระดับป.1-3 , ป.4-6 แล ะม.1-3  ขอแสดงความยินดีกับลำดับที่ 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนบ้านโชคนาสาม 3 ระดับ ได้แก่ระดับ  ระดับอนุบาล ระดับป.1-3  แล ะม.1-3  ส่วน ป.4-6  เป็นของมหาราช 4  เราได้ลำดับที่  2 ได้รับรางวัลกันทั่วหน้า  กรรมการผู้ตัดสินมาจากตำบลโคกยาง  ขอบคุณที่ท่านให้ความกรุณา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554



      เครือข่ายจัดการศึกษาที่ 23 (โชคนาสาม)ได้จัดกิจกรรมศิลปหัตถกรรมนักเรียนขึ้นเพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นตัวแทนเครือข่ายไปแข่งขันเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนเขต  วันที่ 8-9 กันยายน  2554  ได้รับเกียรติจากท่านรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3  โดยนายวุฒิ  อุดมสินานนท์  มาเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันศิลปหัตถกรรม  และเยี่ยม  ให้กำลังใจ ชมผลงานเด็ก  พร้อมให้โอวาส  ทางเครือข่ายที่ 23 ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่ายิ่ง

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยรุ่น


          เมื่อวันที่  26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมาโรงเรียนบ้านโชคนาสามร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลโชคนาสามได้จัดโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น  เพื่อนให้ทราบถึงปัญหาการตั้งครรภ์ สภาพความพร้อม  โรคที่มากับการมีเพศสัมพันธ์ ฯลฯ  ได้เชิญเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลปราสาทมาให้คำแนะนำด้านความรู้ ด้านการป้องกัน  การนี้อบต.ได้รับงบสนับสนุน 10,000  บาท  ทางโรงเรียนบ้านโชคนาสามได้ให้นักเรียนทุกคนระดับชั้นมัธยมตอนต้นได้เข้าร่วมกิจกรรมรับความรู้ทุกคนและจัดงบประมาณเพิ่มอีกตามสมควร


อาเซียน+3+6


          วันพุธที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมาโรงเรียนบ้านโชคนาสามได้เข้าร่วมโครงการอาเซียน  โดยมีวิทยากรจากโรงเรียนพนมดงรักวิทยา  พร้อมกับนักเรียนอีก 3 คน มาร่วมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียน พร้อมทั้งอาเซียน +3  และ +6  โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้นำเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 197  คนเข้าร่วมรับความรู้  ทางโรงเรียนขอขอบคุณคุณครูที่เป็นวิทยากรและรุ่นพี่ทั้ง 3 ที่มาให้ความรู้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ54 โรงเรียนโชคนาสาม

      
          วันแม่แห่งชาติ 2554
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
วันแม่แห่งชาติ 2554 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย
คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ



ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
ชื่อ :มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
เพลงที่ใช้ในวันเเม่
ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดยไพบูลย์ บุตรขัน ขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรกโดย ชาญ เย็นแข เมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่ เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน
เนื้อเพลง ค่าน้ำนม
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2. ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยสัตว์ปล่อยปลาให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้จัดกิจกรรมวันแม่ขึ้น เพื่อให้ลุกลุกระลึกถึงพระคุณแม่ รู้จักกัตตํญญูรู้คุณ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ได้รับความร่วมมือจากแม่ขอลนักเรียนทุกคนมาร่วมกิจกรรม ทำให้บรรยากาศในงานเิกดความรู้สึก อบอุ่น นอกจากนั้นโรงเรียนได้ประกวดร้องเพลง คำขวัญวันแม่ การแต่งกลอน วาดภาพ และเขียนเรียนความ ลูกแม่ทั้งหลายได้รับรางวัลอย่างทั่วหน้า ภายในงานได้มีการรำอวยพร การแสดงของนักเรียนระดับต่างอย่างสนุกสนาน คุณแม่ร่วมบริจาคเป็นกองทุนวันแม่อีก จำนวน 9 พันกว่าบาท ทางโรงเรียนขอขอบพระคถณมานะโอกาสนี้ เงินที่ท่านบริจาคมาก็จะเป็นทุยในการดำเนินการปีหน้านะครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กีฬาภายใน๕๔


          โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้ดำเนินการจัดกิจกรรมกีฬาภายใน วันที่  ๓-๕ สิงหาคม วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีความรักสามัคคี มี้ใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีกีฬาหลายประเภท อาทิ ฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ ฟุตซอล เปตอง แชร์บอล แฮนด์บอลและกรีฑา นักเรียนได้แสดงออกอย่างดีเยี่ยม มีความสุขในการแข่งขัน รักในการเล่นกีฬา

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

     วันนภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
        29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า 

"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก" 

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 
              วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีการประกวดการคัดลายมือ แต่งบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีการแสดงละคร ตอบปัญหาเกมส์เศรษฐีภาษา นักเรียนได้รับความรู้ อีกทั้งรางวัลมากมาย อย่าลืมปีหน้ามีกิจกรรมให้หนูเล่นอีกนะ หนูขอบอก ชอบชอบ 

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันอาสฬหบูชา วันเข้าพรรษา

                   วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) 1 วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้ และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะ ในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในเมื่อวันี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อ วันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี อาสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้ นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิ มุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ 
          สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้ เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวน อยู่ตลอด ๗ วัน
          สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดย ไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียว จนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"
          สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน
ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"
          สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิ ธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"
          สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น
ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์
          สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา
พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ ทรงเปล่งพระอุทาน สรรเสริญความสงัด และความไม่เบียดเบียนกันว่า เป็นสุขในโลก
          สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียง กรังของตนเข้าไปถวาย พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรก ในประวัติกาล ทรงพิจารณาสัตว์โลกเมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมา ประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ
          ๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัว ที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น
          ๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดาร ออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้ง อยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น
          ๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัว ที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป
         ๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตมรัง แต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จ ออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็น พวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนิน ด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสีอันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์พอเสด็จเข้าราวป่าพวกปัญจจวัคคีย์นั้น ได้เห็นจึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวรจะตั้งไว้ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์ กลายเป็นคนมีความมักมาก หมดความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพ พระองค์ตรัสห้ามและทรงบอกว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอน ให้ฟังพราหมณ์ทั้ง ๕ ก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่สุดพระองค์จึงทรงแจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ ? พราหมณ์ทั้ง๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที ค่ำวันนั้น พระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขี้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมมะ-จักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นั้น โดยใจความคือทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตน ให้เพลิดเพลินในกามสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่า เป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพเฉพาะ ทางสายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่
          ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
          ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
          ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
          ๔. สัมมากัมมัตนะ ทำการงานชอบ
          ๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
          ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
          ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
          ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
สรุปด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่
          ๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
          ๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
          ๓. นิโรธความดับทุกข์
          ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
                    ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบ ถึงความหลุดพ้น และสุดชาติสุดภพแน่นอน ขณะที่พระองค์ ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรม ขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญสิๆ" "อัญญสิๆ" (โกณฑัญญะรู้แล้วๆ) เพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ ภายหลังท่านโกณฑัญญะจึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชา พระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์ 
          โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลโชคนาสาม จัดประเพณีสืบสานวัฒนธรรมการแห่เทียนเข้าพรรษา นำโดยนายกจันทร์ทอง ทนงตน ได่้แห่เทียนเข้าพรรษาที่วัดถนนหัก และถวายปัจจัยไทยธรรม ต้นเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน ข้าวสารอาหารแห้ง โดยมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านนักเรียนนางสาวสุพัตรา สายบุตรและคณะได้ประสานงานโดยมีครูภาณุมาศ ศรีราม ครูยุทธศักดิ์ เสาเวียงผู้ดูแล 
โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้แห่เทียนเข้าพรรษาที่วัดปทุมสามราษฏร์ อีกที่ในวันเดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยมีการจัดขบวนเทียน โดยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ขอนักเรียนเอง ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่านักเรียนมีควาสามรถในการประสานงานโดนมีครูหลายๆท่านที่คอยชี้แนะ ให้คำปรึกษา ขอชื่นชมสภานักเรียนทุกท่านที่ให้ความร่วมแรงร่วมใจ แล้วยังได้กุศล ที่ลืมไม่ได้ขอขอบคุณผู้ปกครองที่ให้การสนับสนุนลูกหลานของท่าน 

วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ

               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงได้ยึดถือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งได้จัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีจะมีลูกเสือทั้งในส่วนกลางและปริมณฑลมาร่วมเดินสวนสนาม ประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดงความเคารพและกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อประกาศความเป็นลูกเสืออย่างแท้จริง
          แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจนเป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้ขจรขจายเป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ"หรือ "วันลูกเสือ"
          กิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนบ้านโชคนาสาม ดำเนินการ
         1. กระทำพิธีถวายราชสดุดี
         2. จัดนิทรรศการ เผยแผ่ ประวัติความเป็นมาของลูกเสือและผลงานต่างๆ
         3. ร่วมกิจกรรมต่างๆในวันลูกเสือ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมที่พระบรมรูปฯ สถานพระบรมราชานุสรณ์ หรือที่ที่ทางราชการกำหนด
         4. เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ

วันสุนทรภู่ วันต่อต้านยาเสพติด

              
          โรงเรียนบ้านโชคนาสามจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ภาคเช้า ซึ่งมีการประกวดคำขัวญ คัดลายมือ อ่านทำนองเสนาะและการแสดงของเด็กนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกาาตอนต้น ภาคบ่ายมีการจัดอบรมยาเสพติด โดยมีวิทยากรจาก สถานีอนามัยคุณมงคล หมายถูก หัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชมผูดถึงโทษของยาเสพติด และหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลโชคนาสามให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย พร้อมทั้งการแสดงของนักเรียนการต่อต้านยาเสพติดจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สุดท้ายศิษย์เก่าโชคนาสาม มาเล่นดนตรีให้น้องชมจัดว่าเป็แบบอย่างที่ดี ดนตรีต่อต้านยาเสพติด 

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไหว้ครู 16 มิถุนายน 54



           "ครู" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย  กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน 
          ด้วยเหตุนี้เอง "การบูชาครู" หรือ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต 
          ในความหมายของ "การไหว้ครู" ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่า ตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน 
          พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู นี้มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา 
 กำหนดวันและเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู
          การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่น ๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี
          มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่าเวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
 ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
          1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
          2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
          3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
          4. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
          5. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
 ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
          1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
          2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
          3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
          4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
          5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย
 การเตรียมพานไหว้ครู
          สมัยก่อน ครูประจำชั้นของแต่ละห้องจะคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีและมีมารยาทเรียบร้อย ผู้ชายหนึ่งคนและผู้หญิงหนึ่งคนเป็นตัวแทนนำพานดอกไม้ไปไหว้ครู และในเย็นวันพุธจะมีการแบ่งหน้าที่กันว่า ในเช้าวันพฤหัสบดี นักเรียนคนใดจะต้องนำอะไรมาโรงเรียนบ้าง เช่น บางคนมีพานเงินหรือพานแก้วก็จะเป็นคนเอาพานมา บางคนเอาทราย หรือดินเหนียวมาใส่พานเพื่อปักดอกไม้ บางคนต้องเอาธูปเทียนมา ส่วนนักเรียนที่เหลือให้ไปช่วยกันหาดอกไม้มา โดยมีดอกไม้ที่กำหนด คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และดอกไม้อื่น ๆ เป็นต้น
          ตอนเช้าตรู่ วันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันไหว้ครู เด็ก ๆ จะไปโรงเรียนเช้าเป็นพิเศษ เพื่อไปช่วยกันจัดพานดอกไม้ ซึ่งอาจมีการปัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบบ้าน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขือ โดยที่พานดอกไม้นี้เด็กนักเรียนหญิงจะเป็นคนถือ ส่วนเด็กผู้ชายจะถือธูปเทียนและช่อดอกไม้ ( ช่อดอกไม้หมายถึงดอกไม้ที่หาได้แล้วเอามัดมารวมกัน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขืออีกเช่นกัน)
          จะเห็นว่า พิธีไหว้ครูแต่โบราณไม่มีพิธีรีตรองมากนัก แต่มีความหมายแฝงไว้มากมาย คนโบราณเป็นนักคิดจะทำอะไรก็มักจะผูกเป็นปริศนาที่ลึกซึ้งเอาไว้เสมอ ในพิธีไหว้ครูก็เช่นเดียวกันเครื่องสักการะที่ใช้ในการไหว้ครูนั้น นอกจากธูป เทียน แล้วยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม และหญ้าแพรก ซึ่งเป็นของหาง่ายและมีความหมาย  
 ความหมายของดอกไม้ต่างๆ ที่นิยมใช้ในการไหว้ครู
          ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก 
          หญ้าแพรกป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง
          ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
          ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม   
          สำหรับการไหว้ครูในปัจจุบันตามโรงเรียนต่าง ๆ มักจะเลือกวันพฤหัสบดีในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนมิถุนายน  เพื่อจัดพิธีไหว้ครู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตามสะดวกของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งความต่างของวันไหว้ครูในยุคนี้ เราจะสังเกตเห็นว่า เครื่องสักการะที่นักเรียนนำมาไหว้ครูนั้นนับวันจะหมดความหมายลงไปทุกที 
          นักเรียนส่วนใหญ่มักซื้อดอกไม้ที่สวยงามจากตลาดแทนการใช้เครื่องสักการะที่มีความหมายซึ่งใช้กันมาแต่โบราณ และมักไม่ใช้ความสามารถของตนในการจัดพานเครื่องสักการะครูส่วนใหญ่จะจ้างผู้มีฝีมือในทางด้านนี้ทำให้แบบสำเร็จรูป
          ถ้าหากเราจะรณรงค์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของการไหว้ครูอย่างแท้จริง โดยร่วมแรงร่วมใจกันจัดพาน ใช้ดอกมะเขือ หญ้าแพรกเป็นสื่อความหมายก็น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย เพราะการปลูกมะเขือและหญ้าแพรกนั้นง่ายกว่าและประหยัดกว่าการซื้อดอกไม้อื่น ๆ มากมายนัก
          ว่าแต่วันครูปีนี้ ชวนเพื่อน ๆ มาจัดพานไปไหว้คุณครู เช่นครั้งวันวานกันมั่งดีกว่าไหม เพราะการทำพานไว้ครูเอง นอกจากจะให้คุณค่าทางจิตใจแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกับเพื่อน ๆ นักเรียนอีกด้วย
    โรงเรียนบ้านโชคนาสามขอขอบคุณนักเรียนทุกคน  รวมทั้งศิษย์เก่าที่ระลึกถึงครู  ขอบคุณนักดนตรีจากโรงเรียนบ้านโชคนาสาม  ขอบคุณนักเรียนที่เห็นความสำคัญของครู  ขอบคุณศิษย์เก่าจากพนมดงรักทุกคน

รดน้ำดำหัว

         
          โรงเรียนบ้านโชคนาสามถือโอกาส  หลังจากการปิดการอบรมการพัฒนาหลักสูตร  ถือโอกาสสืบสานประเพณีสงกรานต์  โดยได้รถน้ำขอพรจากผู้ใหญ่  ผู้อาวุโสในเครือข่ายที่  23  เพื่อให้มีความสุขตลอดๆไป

การพัฒนาหลักสูตร

           
          โรงเรียนบ้านโชคนาสาม  สำนักงานเครือข่ายการจัดการศึกษาที่  23  โดยมีโรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจำนวน 7 โรง ร.ร.บ้านโชคนาสาม  บ้านมะเมียง  บ้านเจ้าคุณ  บ้านถนนหัก  บ้านจีกแดก บ้านนาครองและมหาราช 4  ได้รับเกียรติจากท่าน ศฯ.ธนานันต์  ดียิ่ง  ศน.วิลาวัลย์  จุดโต มาเป็นพี่เลี้ยงให้และคอยดูแลตั้งแต่ต้นจนกระทั่งปิดการอบรม
             ทำให้ครูได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มขึ้น ขอบคุณท่านผู้บริหารในเครือข่ายที่ 23  ทุกท่านที่เล็งเห็นความสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครูอบรมสื่ออีเล็กทรอนิก

   
        โรงเรียนบ้านโชคนาสาม สำนักงานการจัดการศึกษาที่ ๒๓ ได้ดำเนินการจัดอบรมครูในเตรือข่ายที่ ๒๓  ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านโชคนาสาม บ้านมะเมียง  บ้านเจ้าคุณ บ้านถนนหัก บ้านจีกแดก บ้านนาครอง โรงเรียนตชด.พียานุเคราะห์๒ และโรงเรียนมหาราช๔ และเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ ๗ โดยใช้วิทยากรในเครือข่ายที่ ๗ และ๒๓ ประสบผลเป็นที่น่าพอใจ
    โดยมีท่ารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต  ๓  นายเจษฎาพร  พรหนองแสงมาเป็นประธานในพิธิเปิด

สภานักเรียน๕๔

    
      โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้ดำเนินการเลือกตั้งสภานักเรียน  ตามโครงการประชาธิปไตย  เพื่อส่งเสริมประชาธิไตยในโรงเรียน  โดยมีการดำเนินการเลือกตั้งจำลองรูปแบบมาจากการเลือกแบบการเลือกตั้งแบบองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านนักเรียนเป็นผู้นำแต่ละหมู่บ้าน  ใช้การปกครองแบบพี่ปกครองน้อง  โดยใช้วิธีการดั้งเดิมคือการเข้าแถวต่อผู้ที่เลือกตั้ง  ย้อนสมัยโบราณ
     ต่อจากนั้นให้สภานักเรียนชุด ที่มีอยู่แล้วดำเนินการจัดเลือกตั้ง  ก่อนที่จะหมดวาระ  ดดยมีการเลือกตั้งนายกนักเรียน(ทุกคนมีสิทธิ์เลือกกาได้เบอร์เดียว)  ส่วนสมาชิกองค์การบริหารนักเรียนสามารถเลือกได้ 2 หมายเลขกาได้ไม่เกิน 2 หมายเลข(สอบน.) ผลการเลือกผู้ที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดคือนางสาวสุนันทา  ชื่นจิตร ได้เป็นนายยกนักเรียนประจำปีการศึกษา  2554 

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ช้างเข้าค่ายรุ่นที่ 1

         โครงการรัฐศาสตร์อาสา(ช้างเข้าค่ายรุ่นที่  1)  เป็นโครงการแรกที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ของนักศึกษาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาจังหวัดสุรินทร์  ที่รวบรวมพลังหนุ่มสาวออกค่ายที่โรงเรียนบ้านโชคนาสาม  ทางโรงเรียนขอขอบคุณแกนนำนักศึกษา  และนักศึกษาร่วม  40  กว่าชีวิตที่มาช่วยปรับปรุงอาคารสถานที่ของโรงเรียน  โดยใช้กำลังกาย  กำลังความรู้  ความสามารถของนักศึกษาทั้งหลาย  ในทางสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม  โอกาสนี้ทางโรงเรียนบ้านโชคนาสามขออำนวยอวยพรให้ท่านทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่ชีวิตการงาน  มีความสุข  ความเจริญ ในหน้าที่การงาน เป็นผู้นำของชุมชนตลอดจนประเทศชาติต่อไป  ทางโรงเรียนหวังว่าจะมีกิจกรรมค่าอาสาออกมาแถวบ้านตนเองเรื่อยๆ  เพราะบ้านเมืองเรายังไม่ทัดเทียมเขา  ขอบคุณนะครับ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทัศนศีกษาวันที่ 3-8 มีนาคม 2554

         
โรงเรียนบ้านโชคนาสามจัดกิจกรรมทัศนศึกษา  วันที่  3-8  มีนาคม  2554  ได้จัดไปทัศนศึกษาทางภาคเหนือได้แก่จังหวัดเชียงใหม่  ดอนอินทนนท์  ดอยสุเทพ  บ่อสร้างกางจ้องเครื่องเขิน  โรงงานทำเครื่องเงิน  เครื่องหนัง
                  จัดกิจกรรมทัศนศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้เดินทางไปทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและจังหวัดลำปางเวลา 6 วัน ซึ่งได้ประสบการณ์หลายอย่าง ไปเที่ยวชมยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย ดอยอินทนนท์ พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ พระมหาธาตุนภเมทนีดล น้ำตกวชิรธาร ช่วงเย็นเดินตลาดไนท์บาร์ซาร์ เข้าพักโรงเรียนโสดศึกษาเชียงใหม่ 2 คืน วันที่ 5 มีนาคม 54 เดินทางเที่ยวดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ บ้านม้งดอยปุย ขอขอบคุณคณะครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความอนุเคราะห์ที่พัก เดินทางต่อไปที่จังหวัดเชียงรายชมน้ำพุร้อนธรรมชาติ วัดร่องขุน และชายแดนไทยพม่า พักที่วัดธรรมกายาราม กราบนมัสการหลวงพ่อวัดพระธรรมกายารามที่ให้ความเมตตาและอนุเคราะห์สถานที่ ตลอดทั้งอาหารและของที่ระลึก กราบนมัสการอย่างสูงยิ่ง นอกจากนั้นขอขอบคุณ ว่าที่ร้อยตรีสมสิฎฏ์ ชาญชัยที่ประสานเรื่องที่พักได้รับความสดวกสบายอย่างดี

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

รับใบประกาศนียบัตรปีการศึกษา2553

         โรงเรียนบ้านโชคนาสามได้จัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตร  แก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา  2553  ซึ่งโรงเรียนได้เรียนเชิญนายวุฒิไกร    สมเป็น  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสุรินทร์เขต  3  มาเป็นประธานในพิธีมอบ  หลังจากนั้นเป็นพิธีพราห์มได้เชิญ  นายกนกศักดิ์    สาระมัย  ศิษย์เก่ามาทำพิธีสู่ขวัญให้น้องๆ  หลังจากนั้นก็ผูกข้อต่อแขนให้กับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา  พร้อมกับลาคุณครูเพื่อไปศึกษาสถานศึกษาแห่งใหม่  และโรงเรียนได้ดำเนินการเปิดรั้วโรงเรียนสู่ชุมชน  ได้เชิญผู้ปกครองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มาร่วมชมผลงานที่โรงเรียนได้ดำเนินการมาในปีการศึกษา  2553  ซึ่งมีผลงานมากมายมาจัดแสดง  หลังจากนั้นได้มีการร่วมรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาและผู้ปกครอง